วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

          แบบทดสอบ       

1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

3.     ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ ในสารประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ ในสารประกอบ มีค่าเป็น -1 สารประกอบ คืออะไร
        ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl

4.     การที่ธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
        ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
        ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ

5.     สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
        ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O, Fe(OH)3
        ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl

6.    สิ่งที่เหมือนกันในระหว่างธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุ คือ
ก.       มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เท่ากัน
ข.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเหมือนกัน
ค.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของระดับพลังงานชั้นนอกสุดเหมือนกัน
ง.       มีขนาดใกล้เคียงกันมาก

7.    สารประกอบคลอไรด์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ
       ก. NaCl                                                    ข. CaCl2
       ค. NCl3                                                     ง. LiCl

8.     เลขออกซิเดชันของซีนอนในสารประกอบใดมีค่าสูงที่สุด
        ก. Na4XeO6                      ข. XeOF4               ค. H6XeO6                  ง. XeF4

9.    ถ้าอะตอมของอาร์เซนิกได้รับ 3 อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะได้อนุภาคที่มีการจัดอิเล็กตรอน เหมือนกับอะไร
       ก. อาร์กอน                                              ข. โบนมีน
       ค. คลิปตอน                                            ง. อันติโมนี

กำหนดเลขอะตอมของธาตุดังนี้
10.    ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและไอออนที่มีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ที่ถูกต้องควรเป็นข้อใด
         ก.   C,A2+                           . A,B+                   ค. B,C                         . C,B+

   เฉลยข้อสอบ
1. ค.                        2. ข.                        3. ค.                        4. ค.                        5. ข.                        6. ค.
 7.ค.                         8. ก.                        9. ค.                        10. ง.              

ธาตุกึ่งโลหะ

ธาตุกึ่งโลหะ

           เมื่อพิจารณาตารางธาตุที่ใช้ในปัจจุบัน จะพบว่าค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะมีเส้นทึบเป็น
ขั้นบันไดปรากฏอยู่ ธาตุทางขวาเส้นทึบจัดเป็นกลุ่มอโลหะ ส่วนทางด้านซ้ายจัดเป็นกลุ่มโลหะ สำหรับธาตุที่อยู่ชิดเส้นแบ่งนี้จะเรียกว่า ธาตุกึ่งโลหะ มีดังนี้
1.โบรอน (อังกฤษ:Boron) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ B และเลขอะตอม เป็นธาตุที่มี วาเลนซ์ และเป็นกึ่งโลหะ โบรอนปรากฏมากในแร่บอแรกซ์ โบรอนมี 2 อัญรูปโดยที่ amorphous boron เป็นผงสีน้ำตาล และ metallic boron มีสีดำ รูปแบบที่เป็นโลหะมีความแข็งมาก (9.3 บนมาตราของโมห์ส) แต่นำไฟฟ้าไม่ดีที่อุณหภูมิห้อง ไม่ปรากฏแบบอิสระในธรรมชาติ เป็นสารประกอบออกไซด์และเฮไลด์ เป็นพันธะโควาเลนท์ เช่น BF3  อ่านเพิ่มเติม

ธาตุแทรนซิชัน

สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง  ซึ่งทุกธาตุต่างเป็นพวกโลหะ  แต่มีความแตกต่างจากโลหะหมู่  IA  และหมู่  IIA  หลายประการดังนี้
1. ธาตุแทรนซิชัน  เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความหนาแน่นสูง
2. เวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่  4  เท่ากับ  2  ยกเว้นโครเมียม  กับทองแดง  ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  1
3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน  ส่วนใหญ่มีจำนวนไม่เท่ากัน  ส่วนของธาตุหมู่   IA  และหมู่  IIA  ในคาบเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามาเท่ากับ  8  อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ตำแหน่งไฮโดรเจนในตารางธาตุ

ตำแหน่งไฮโดรเจนในตารางธาตุ

การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ต่าง ๆ ในตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์ สำหรับตารางธาตุปัจจุบันได้จัดไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1  ระหว่างหมู่ IA  กับหมู่ VIIA  เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้
1.  มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1  และมีเลขออกซิเดชัน +1  ไฮโดรเจนจึงควรอยู่ในคาบ 1  หมู่ IA

2.  มีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ VIIA  คือ  มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า  มีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง  ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง  สถานะเป็นแก๊ส  ไม่นำไฟฟ้า  เมื่อเกิดสารประกอบต้องการอิเล็กตรอนเพียง 1 อิเล็กตรอนก็จะมีการจัดอิเล็กตรอนเสถียรเหมือนกับฮีเลียม  จึงควรอยู่ในคาบ 1 หมู่ VIIA
การที่ไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายทั้งหมู่ IA  และหมู่ VIIA  รวมทั้งมีเลขอะตอมน้อยที่สุด  จึงจัดธาตุไฮโดรเจนไว้ในคาบที่ 1 และระหว่างหมู่ IA  กับหมู่ VIIA อ่านเพิ่มเติม




สมบัติของธาตุแทรนซิชัน

  สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันทั้งในแนวนอนและแนวดิ่ง  ซึ่งทุกธาตุต่างเป็นพวกโลหะ  แต่มีความแตกต่างจากโลหะหมู่  IA  และหมู่  IIA  หลายประการดังนี้
1. ธาตุแทรนซิชัน  เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และความหนาแน่นสูง
2. เวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่  4  เท่ากับ  2  ยกเว้นโครเมียม  กับทองแดง  ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ  1
3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน  ส่วนใหญ่มีจำนวนไม่เท่ากัน  ส่วนของธาตุหมู่   IA  และหมู่  IIA  ในคาบเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามาเท่ากับ  8
4. รัศมีอะตอมมีขนาดใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นตามคาบ
5. ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามคาบ
6. ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันตามคาบมากกว่าธาตุอื่นๆ  ในตารางธาตุ อ่านเพิ่มเติม

ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่

ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่


              ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่

 นักเรียนได้ศึกษาสมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบรวมทั้งสมบัติของสารประกอบของธาตุบางชนิดตามคาบมาแล้ว ต่อไปนี้จะศึกษาปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่
3.2.1  ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA  และ IIA
                นักเรียนทราบมาแล้วว่าธาตุหมู่ IA  และ IIA  เป็นโลหะ เมื่อทำปฏิกิริยากับอโลหะแล้วจะเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกเป็นส่วนใหญ่ ในตอนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าโลหะหมู่ IA และ IIA เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิดปฏิกิริยาได้ช้าหรือเร็วแตกต่างกันหรือไม่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีสมบัติเป็นอย่างไรจากการทดลองต่อไปนี้
การทดลอง 3.1  ปฏิกิริยาของโซเดียมและแมกนีเซียมกับน้ำ
                  1.  ใส่สารละลาย  HCl 0.1 mol/dm^3และสารละลาย  NaOH  0.1 mol/dm^3ลงในหลอดทดลองขนาดเล็กหลอดละ 1cm^3หยดฟีนอล์ทาลีนลงในหลอดทดลองทั้งสอง หลอดละ 2 หยด สังเกตสีของสารละลายและเก็บสารละลายไว้เพื่อใช้เปรียบเทียบกับสีของสารละลายที่เกิดขึ้นในการทดลองต่อไป
                  2.  ใส่น้ำกลั่นลงในบีกเกอร์ขนาด50 cm^3จำนวน 2 ใบ  ใบละ  10 cm^3และหยดฟีนอล์ทาลีนลงในบีกเกอร์  2  ใบ ใบละ  2  หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลง ใช้ปากคีบคีบชิ้นโซเดียมขนาดเมล็ดถั่วเขียว ซับน้ำมันให้แห้งใส่ลงในบีกเกอร์ใบที่หนึ่งแล้วใช้กระจกนาฬิกาปิดปากบีกเกอร์ทันที สังเกตการเปลี่ยนแปลง
                 3.  ขัดลวดแมกนีเซียมให้สะอาดแล้วใส่ลงในบีกเกอร์ใบที่ 2 ตั้งไว้ 3 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วนำบีกเกอร์ไปตั้งไฟเพื่อทำให้สารละลายมีอุณหภูมิประมาณ60 (^\circ C)เป็นเวลา 3 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง 

 

สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ


สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ


               จากการศึกษาสมบัติต่างๆ ของธาตุในตารางธาตุ เช่น ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ต่อไปจะศึกษาสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยการศึกษาจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็นกรด - เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ 3 จากข้อมูลในตางราง 3.1

ตาราง 3.1  สมบัติบางประการของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และคาบที่ 3 อ่านเพิ่มเติม


พันธะโลหะ

        พันธะโลหะ

โลหะ สามารถนำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี มีลักษณะเป็นเงาและมีความวาวเมื่อถูกแสง นอกจากนี้ยังสามารถดึงเป็นเส้น ตีเป็นแผ่น    หรือบิดงอได้โดยไม่แตกหัก ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญเหล่านี้ก็เนื่องจากโลหะยึดกันด้วยพันธะชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ พันธะโลหะ

     ทฤษฎีที่ใช้อธิบายพันธะโลหะ

   1. แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน ( electron sea model )
   2. ทฤษฎีแถบพลังงาน ( band theory )

    1. แบบจำลองทะเลอิเล็กตรอน ( electron sea model )
      จากรูปแสดงลักษณะของพันธะโลหะ ทรงกลมสีเทาคือ ไอออนบวกของโลหะ ทรงกลมสีแดงที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวล อ่านเพิ่มเติม

พันธะไอออนิก

พันธะไอออนิก ( Ionic bond )

    พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึง พันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพอิออนที่มีประจุตรงกันข้ามกัน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน 11 ตัว หรือมากกว่า จากอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด ครบออกเตต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะ โดยที่โลหะเป็นฝ่ายจ่ายอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดให้กับอโลหะ
เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะได้ดี กล่างคือ อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ แล้วเกิดเป็นไอออนบวกและไอออยลบของอโลหะ เพื่อให้เวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด แบบก๊าซเฉื่อย ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเองให้เสถียรแบบก๊าซเฉื่อยเช่นกัน ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าต่างกันเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก( Ionic compuond ) ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม


พันธะโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์ 
        
พันธะโคเวเลนต์ คือ  พันธะเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างอะตอมของธาตุอโลหะกับธาตุโลหะที่เข้ามาสร้างแรงยึดเหนี่ยวต่อกัน  เนื่องจากธาตุอโลหะจะมีสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดีและยากต่อการสูญเสียอิเล็กตรอน  ดังนั้นอิเล็กตรอนของธาตุทั้งสองจึงต่างส่งแรงดึงดูดเพื่อที่จะดึงดูดอิเล็กตรอนของอีกฝ่ายให้เข้าหาตนเอง  ทำให้แรงดึงดูดจากนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองหักล้างกัน  ดังนั้นอิเล็กตรอนจึงไม่มีการหลุดไปอยู่ในอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ  แต่จะมีลักษณะเหมือนเป็นอิเล็กตรอนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอะตอมทั้งสอง  เรียกอิเล็กตรอนที่อยู่กึ่งกลางอะตอมทั้งสอง  เรียกอิเล็กตรอนที่ถูกอะตอมใช้ร่วมกันในการสร้า อ่านเพิ่มเติม

แบบจำลองอะตอม

แบบจำลองอะตอม

          เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก อีกทั้งไม่มีใครเคยมองเห็นอะตอมมาก่อน เมื่อนักวิทยาศาตร์พัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงมากนำมาใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ จึงสามารถถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพภายนอกของอะตอมได้ดังรูป 1.1

รูป 1.1  ภาพถ่ายอะตอมของทองคำด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน


          จากภาพนี้ก็ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดภายในอะตอมได้ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอะตอมจึงเป็นการแปลผลจากข้อมูลที่ได้จากการทดลองและนำมาสร้างเป็นนโมภาพหรือแบบจำลอง

1.1.1  แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
          ในปี พ.ศ.2346 จอห์น ดอลตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีอะตอมเพื่อใช้อธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมวลของสารก่อนและหลังทำปฏิกิริยา รวมทั้งอัตราส่วนโดย อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

อะตอมและตารางธาตุ

อะตอมและตารางธาตุ
   
   อะตอม (atom) เปนหนวยที่เล็กที่สุดของสสารที่มีสมบัติของอะตอมนั้นๆ เปนกรีกวา atomos 
( a = not, tomus = to cut) หมายถึงสิ่งที่ไมสามารถแบงได้อีก เมื่อ 400 ปกอนคริสตศักราช
นักปราชญชาวกรีกโบราณที่ชื่อ ลูซิพปุส (Leucippus) และดิโมคริตุส (Democritus) ใชสําหรับเรียกอนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารที่ไมสามารถแบงแยกตอไปไดอีก โดย เขาไดพยายามศึกษาเกี่ยวกับวัตถุที่มีขนาดเล็กระดับจลภาคและมีแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของสสารวา สสารทั้งหลายประกอบดวย
อนุภาคที่เล็กมาก ไมสามารถมองเห็นไดและไม สามารถแบงแยกใหเล็กลงกวานั้น  อ่านเพิ่มเติม